กระบวนการขูดมดลูกจะดำเนินการภายใต้ฤทธิ์ยาสลบ โดยแพทย์จะทำการเปิดถ่างปากมดลูกอย่างเบามือ และแพทย์จะใช้คีมปากยาวกับท่อดูดกำจัดตัวอ่อนและเนื้อเยื่อตั้งครรภ์โดยรอบออก
กระบวนการจะใช้เวลาประมาณ 10 ถึง 20 นาที และหากคุณมีสุขภาพโดยรวมดีและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุณก็สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกับการทำแท้ง โดยคุณจะมีเลือดออกภายหลังกระบวนการประมาณ 14 วัน
การผ่าตัดทำแท้งกับครรภ์ระยะที่สอง (ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ที่ 20 – 24 สัปดาห์)
หากคุณตั้งครรภ์มามากกว่า 22 สัปดาห์และต้องการทำแท้ง กระบวนการที่ใช้จะมีสองขั้นตอน ซึ่งจะดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบกับคุณ
ขั้นตอนแรก จะมีการฉีดยาเพื่อทำให้หัวใจตัวอ่อนหยุดเต้น และจะมีการใช้ยาเพื่อทำให้ปากมดลูกอ่อนตัว ขั้นตอนที่สองจะดำเนินการในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นกระบวนการนำตัวอ่อนและเนื้อเยื่อโดยรอบออก
ภายหลังกระบวนการ คุณจะมีเลือดออกซึ่งจะคงอยู่มากถึง 14 วัน โดยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิเช่นมีของเหลวไหลออกจากเต้านม เป็นต้น
ความเสี่ยง
กระบวนการทั้งหมดจะไม่มีความเสี่ยงใด ๆ แต่หลังจากกระบวนการทำแท้งอาจจะเกิดความเสี่ยงกับสุขภาพของผู้เข้ารับทำแท้งบางอย่างขึ้น โดยเฉพาะหากเป็นการทำแท้งกับอายุครรภ์อ่อน ๆ หรือก่อน 12 สัปดาห์
- การทำแท้งไม่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของโอกาสที่จะตั้งครรภ์ใหม่ในอนาคต หรือกล่าวคือผู้หญิงที่ผ่านการทำแท้งมาแล้วจะไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตรในอนาคต
- ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นระหว่างการทำแท้งมีต่ำมาก ซึ่งมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นกับการทำแท้งที่ดำเนินการกับครรภ์อายุมาก สำหรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งมีดังนี้:
- การตกเลือด (มีเลือดออกมา): เกิดกับกรณีผู้ที่ทำแท้ง 1 ใน 1,000 คน
- ความเสียหายที่ปากมดลูก: เกิดขึ้นน้อยมาก หรือประมาณ 20 ต่อ 1,000 ครั้ง
- ความเสียหายที่มดลูก: สำหรับการทำแท้งแบบผ่าตัดจะมีโอกาสเกิดที่ 4 ต่อ 1,000 ครั้ง และน้อยกว่า 1 ใน 1,000 ในกรณีการทำแท้งด้วยยากับครรภ์อายุ 12 ถึง 24 สัปดาห์